Sep 10, 2008
ตอนที่ 10: อยู่ถ้ำผาพุง จ.เลย 2 ปี
ท่านถามเด็กๆที่มาฟังเทศน์ว่า "อยากให้หลวงพ่อ อยู่นานๆไหม" เด็กๆก็บอกว่า "อยากให้อยู่นานๆ" ท่านจึงบอกว่าถ้าอยากให้อยู่ก็ต้องช่วยปลูกกุฏิให้หลวงพ่ออาศัย เพราะใกล้หน้าฝน ลำพังแค่กลดคงบังฝนไม่ได้ เด็กๆเหล่านี้ก็มาช่วยตัดไม้เกี่ยวหญ้าคามาปลูกกุฏิเล็กๆให้ท่าน
โอ่งขนาดใหญ่
ต่อมาก็มีผู้มีจิตศรัทธา ปลูกศาลาโรงฉันเล็กๆให้และสร้างศาลาทรงไทยบนไหล่เขา แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือโอ่งน้ำขนาดใหญ่ ไว้เก็บน้ำฝน เวลาญาติโยมมากันมากๆจะได้มีน้ำดื่ม ท่านอาจารย์เคยเห็นที่ตลาดวังสะพุง มีร้านขายโอ่งขนาดใหญ่ที่ต้องการ ก็ไปขอซื้อ
เจ้าของร้านถามว่า "จะเอาโอ่งไปตั้งที่ไหน "
ท่านตอบ "เอาไปไว้ในศาลาบนไหล่เขา"
เจ้าของร้านท้วงว่า "จะเอาโอ่งใหญ่ขนาดนี้ ขึ้นไปได้อย่างไร"
ท่านตอบ "ถ้าอาตมาเอาขึ้นไปได้ จะถวายโอ่งให้หรือไม่ละ"
เจ้าของร้านก็ใจถึง "ถ้าท่านเอาขึ้นไปได้ ไม่ไปตั้งที่พื้นที่ราบข้างล่างก็ยินดีถวาย"
เมื่อท่านตกลงกับเจ้าของร้านโอ่งได้ ก็กลับมาหาเชือกและลูกรอกเตรียมเอาไว้ เมื่อร้านขนโอ่งมาถึงพื้นที่ราบ ท่านก็ใช้รอกขนโอ่งขึ้นไปจนสำเร็จ เจ้าของโอ่งก็ถวายโอ่งให้ท่านฟรี มีผู้พบว่ามีโอ่งใหญ่ขนาดนี้ถึง 5 ใบ ตั้งเรียงรายที่ศาลาบนไหล่เขาวัดถ้ำผาพุง ท่านยังได้พบอีกว่าสูงจากไหล่เขาขึ้นไปมีถ้ำใหญ่อันสงบงดงาม ท่านจึงขึ้นไปทำความสะอาดถ้ำ และใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และรับแขกแทนศาลาโรงฉันข้างล่าง
สร้างพระพุทธรูป
ภายในถ้ำที่ท่านค้นพบ ท่านเห็นว่าควรสร้างพระพุทธรูปไว้ในถ้ำเพื่อกราบไหว้บูชา เพราะเห็นว่าถ้ำนี้ทั้งกว้างทั้งสูง อากาศถ่ายเทสะดวกมีแสงแดดส่องลงมาจากช่องด้านบนไม่อับชื้น เหมาะแก่ผู้แสวงบุญจะมาอาศัยบำเพ็ญเพียร
ท่านพระอาจารย์จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เยี่ยมเยียนน้องสาวที่มีฐานะดีได้ปรารภถึงการสร้างพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณโยมมารดาและบิดา น้องสาวของท่านก็ยินดีสร้างถวาย เป็นพระที่งดงามด้วยพุทธลักษณะ
เจ้าของโรงเลื่อยที่เคยคิดขับไล่ท่าน ต่อมาก็ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสและมาช่วยก่อสร้างสำนักสงฆ์ ให้มีลักษณะถาวรขึ้นมีพระและเณรมาอยู่ปฎิบัติธรรมด้วยหลายองค์ ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกก็มีความเลื่อมใสมาทำบุญใส่บาตรมิได้ขาด
วัดถ้ำผาพุงเป็นสถานที่ตั้งในภูมิประเทศที่มีความเหมาะสม เหมาะอย่างยิ่งที่พระภิกษุและผู้ปฎิบัติธรรมจะมาบำเพญเพียร ถ้าได้รับการทำนุบำรุงรักษาเพียงสร้างกุฎิกรรมฐานเล็ก ๆ ให้มากขึ้น ก็จะเป็นสถานอันร่มรื่นเย็นสงบ สำหรับผู้ปฎิบัติธรรมต่อไป
หลวงปู่มั่นเคยปรารภว่า "ให้เร่งปฎิบัติ เพราะต่อไปป่าจะหายากไม่มีที่ให้ปฎิบัติอีกแล้ว ฉะนั้นสำนักสงฆ์ที่มีอยู่ในป่า เราชาวพุทธจะต้องช่วยกันรักษาไว้ทั้งสำนักสงฆ์และป่าให้คงอยู่ เพื่อเราจะได้เห็นพระอรหันต์อันเป็นเนื้อนาบุญของเราตลอดกาลนาน"
เนื่องจากท่านพระอาจารย์ประยุทธ เป็นพระปฎิบัติที่ไม่ติดที่หรือเสนาสนะและตั้งในจะเดินธุดงค์เพื่อปฎิบัติธรรม หลังจากที่ท่านพระอาจารย์ประยุทธได้อยู่ที่วัดนี้ได้ 2 ปี จึงคิดมอบหมายให้มีผู้ดูแลวัดแทน ซึ่งในขณะนั้นมีพระอาจารย์ประเวศน์มาปฎิบัติธรรมสมาธิกับท่าน จึงเป็นผู้ดูแลวัดต่อจากท่าน
โอ่งขนาดใหญ่
ต่อมาก็มีผู้มีจิตศรัทธา ปลูกศาลาโรงฉันเล็กๆให้และสร้างศาลาทรงไทยบนไหล่เขา แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือโอ่งน้ำขนาดใหญ่ ไว้เก็บน้ำฝน เวลาญาติโยมมากันมากๆจะได้มีน้ำดื่ม ท่านอาจารย์เคยเห็นที่ตลาดวังสะพุง มีร้านขายโอ่งขนาดใหญ่ที่ต้องการ ก็ไปขอซื้อ
เจ้าของร้านถามว่า "จะเอาโอ่งไปตั้งที่ไหน "
ท่านตอบ "เอาไปไว้ในศาลาบนไหล่เขา"
เจ้าของร้านท้วงว่า "จะเอาโอ่งใหญ่ขนาดนี้ ขึ้นไปได้อย่างไร"
ท่านตอบ "ถ้าอาตมาเอาขึ้นไปได้ จะถวายโอ่งให้หรือไม่ละ"
เจ้าของร้านก็ใจถึง "ถ้าท่านเอาขึ้นไปได้ ไม่ไปตั้งที่พื้นที่ราบข้างล่างก็ยินดีถวาย"
เมื่อท่านตกลงกับเจ้าของร้านโอ่งได้ ก็กลับมาหาเชือกและลูกรอกเตรียมเอาไว้ เมื่อร้านขนโอ่งมาถึงพื้นที่ราบ ท่านก็ใช้รอกขนโอ่งขึ้นไปจนสำเร็จ เจ้าของโอ่งก็ถวายโอ่งให้ท่านฟรี มีผู้พบว่ามีโอ่งใหญ่ขนาดนี้ถึง 5 ใบ ตั้งเรียงรายที่ศาลาบนไหล่เขาวัดถ้ำผาพุง ท่านยังได้พบอีกว่าสูงจากไหล่เขาขึ้นไปมีถ้ำใหญ่อันสงบงดงาม ท่านจึงขึ้นไปทำความสะอาดถ้ำ และใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และรับแขกแทนศาลาโรงฉันข้างล่าง
สร้างพระพุทธรูป
ภายในถ้ำที่ท่านค้นพบ ท่านเห็นว่าควรสร้างพระพุทธรูปไว้ในถ้ำเพื่อกราบไหว้บูชา เพราะเห็นว่าถ้ำนี้ทั้งกว้างทั้งสูง อากาศถ่ายเทสะดวกมีแสงแดดส่องลงมาจากช่องด้านบนไม่อับชื้น เหมาะแก่ผู้แสวงบุญจะมาอาศัยบำเพ็ญเพียร
ท่านพระอาจารย์จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เยี่ยมเยียนน้องสาวที่มีฐานะดีได้ปรารภถึงการสร้างพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณโยมมารดาและบิดา น้องสาวของท่านก็ยินดีสร้างถวาย เป็นพระที่งดงามด้วยพุทธลักษณะ
เจ้าของโรงเลื่อยที่เคยคิดขับไล่ท่าน ต่อมาก็ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสและมาช่วยก่อสร้างสำนักสงฆ์ ให้มีลักษณะถาวรขึ้นมีพระและเณรมาอยู่ปฎิบัติธรรมด้วยหลายองค์ ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกก็มีความเลื่อมใสมาทำบุญใส่บาตรมิได้ขาด
วัดถ้ำผาพุงเป็นสถานที่ตั้งในภูมิประเทศที่มีความเหมาะสม เหมาะอย่างยิ่งที่พระภิกษุและผู้ปฎิบัติธรรมจะมาบำเพญเพียร ถ้าได้รับการทำนุบำรุงรักษาเพียงสร้างกุฎิกรรมฐานเล็ก ๆ ให้มากขึ้น ก็จะเป็นสถานอันร่มรื่นเย็นสงบ สำหรับผู้ปฎิบัติธรรมต่อไป
หลวงปู่มั่นเคยปรารภว่า "ให้เร่งปฎิบัติ เพราะต่อไปป่าจะหายากไม่มีที่ให้ปฎิบัติอีกแล้ว ฉะนั้นสำนักสงฆ์ที่มีอยู่ในป่า เราชาวพุทธจะต้องช่วยกันรักษาไว้ทั้งสำนักสงฆ์และป่าให้คงอยู่ เพื่อเราจะได้เห็นพระอรหันต์อันเป็นเนื้อนาบุญของเราตลอดกาลนาน"
เนื่องจากท่านพระอาจารย์ประยุทธ เป็นพระปฎิบัติที่ไม่ติดที่หรือเสนาสนะและตั้งในจะเดินธุดงค์เพื่อปฎิบัติธรรม หลังจากที่ท่านพระอาจารย์ประยุทธได้อยู่ที่วัดนี้ได้ 2 ปี จึงคิดมอบหมายให้มีผู้ดูแลวัดแทน ซึ่งในขณะนั้นมีพระอาจารย์ประเวศน์มาปฎิบัติธรรมสมาธิกับท่าน จึงเป็นผู้ดูแลวัดต่อจากท่าน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง)
วัดถ้ำพระพุทธไสยาส.blogspot.com/
**ฝาก Blog วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (วัดถ้ำพระทอง) ด้วยนะครับ**
Post a Comment