เนื่องจากท่านเป็นพระปฎิบัติที่ไม่ติดที่ มักจะอยู่ที่ไหนได้ไม่นานก็ไปต่อ อันเป็นแบบฉบับของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ท่านชอบธุดงค์อยู่ตามป่า ตามถ้ำไปเรื่อยๆ ไปที่ไหนแล้วทำให้สมาธิเจริญก็อยู่หลายวันหน่อย ไม่เหมาะก็จะย้ายไปที่ใหม่ ปฏิปทาของท่านที่สำคัญคือ การงดอาหารบิณฑบาต โอกาสไหนถ้าท่านเจริญเป็นที่สบายก็อดอาหารถึง 15 วัน หรือ 1 เดือนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ระหว่างที่ท่านธุดงค์ในป่าเขาลำเนาไพร ท่านได้นิมิตในสมาธิถึงถ้ำแห่งหนึ่งเพื่อจะไปอยู่สร้างบารมี ท่านเที่ยวธุดงค์อยู่อีก 3 ปี จึงได้มาพบถ้ำในนิมิต ถ้ำแห่งนี้คือ "วัดถ้ำผาพุง" อ. สะพุง จ.เลย ในปัจจุบัน
เมื่อพบถ้ำท่านพระอาจารย์ได้ไปปักกลดอยู่ตรงพื้นที่ราบเชิงเขา ไม่มีมุ้งกันแดดกันฝน บริเวณนั้นป่าไม้ยังสมบูรณ์ และมีการลักลอบตัดไม้ การที่ท่านไปปักกลด ทำให้การลักลอบตัดไม้ไม่เป็นความลับต่อไป ผู้ลักลอบจึงพยายามขับไล่ท่านให้ออกจากสถานที่นั้นตั้งแต่วันแรก ท่านก็เฉยเสียและรู้ว่าเจ้าของโรงเลื่อยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่ให้มาไล่ท่าน ท่านประกาศว่าถ้าเจ้าของโรงเลื่อยไม่ออกไปจากป่านี้ ท่านก็ไม่ไปเหมือนกัน เจ้าของโรงเลื่อยจึงใช้อิทธิไปข่มขู่ไม่ให้ชาวบ้านใส่บาตรท่าน ท่านเคยอดมาก่อนก็ไม่ใช้เรื่องใหญ่อะไร เมื่อมีเด็กมาเลี้ยงวัว ท่านก็บอกใบ้ให้เด็ก ๆ เก็บใบไม้ที่กินได้มาให้ท่านฉัน เพราะเป็นพระจะพรากต้นไม้ไม่ได้โดยเฉพาะพระฝ่ายธรรมยุตินิกายยิ่งต้องเคร่งครัดมากในเรื่องนี้ อยู่มา 6 วันไม่มีใครมาใส่บาตร เช้าวันที่ 6 ท่านเลยออกไปบิณฑบาตรพบเด็กหญิงวัยรุ่นคนหนึ่งกำลังผ่าฝืนอยู่หน้าบ้าน ท่านจึงถามว่า "ชาวบ้านแถวนี้เขาไม่ทำบุญใส่บาตรกันหรือ" เด็กเรียนท่านว่า "คนรุ่นพ่อแม่ถูกห้ามไม่ให้ใส่บาตร" แต่เด็กคนนี้ขอให้ท่านรอ แล้วไปเอาข้าวนึ่งในบ้านพร้อมกับปลาเล็ก ๆ 1 ตัวมาใส่บาตร เป็นอันว่าท่านได้ฉันในวันที่ 6
หลังจากนั้นเมื่อเด็กเห็นท่าน ก็ใส่บาตรทุกครั้งและชวนให้เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันมาใส่บาตรด้วย เวลาว่างก็ไปหาท่านที่กลด ท่านก็สอนให้เด็กเข้าใจถึงบาปบุญ และเน้นมากในเรื่องความกตัญญู
ท่านสอนเด็กเหล่านั้นว่า "พ่อแม่ก็เป็นพระองค์หนึ่ง ท่านเลี้ยงดูเรามาต้องกตัญญูรู้คุณอย่าทำให้ไม่สบายใจ เพราะจะเป็นบาป ต้องคอยปรนนิบัติเอาอกเอาใจท่าน ช่วยการงานอย่าให้ท่านบ่นว่าเอาได้" เด็กๆเหล่านี้ก็ไปเล่าให้พ่อแม่ฟังว่าพระท่านสอนอย่างไรบ้าง พ่อแม่รู้สึกพอใจที่ท่านสอนให้ลูกดีก็เลยมาฟังด้วยตนเอง แล้วเกิดความเลื่อมใส พากันมาใส่บาตร บางทีก็เอาอาหารมาถวายถึงที่กลด เป็นอันว่าคำสั่งของเจ้าของโรงเลื่อยไม่เป็นผล
1 comment:
วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง)
วัดถ้ำพระพุทธไสยาส.blogspot.com/
**ฝาก Blog วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (วัดถ้ำพระทอง) ด้วยนะครับ**
Post a Comment